วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

+++ โครงการลดการอดอยากในพื้นที่แล้งไร้น้ำและติดทะเลโดยการปลูกพืชทนเค็ม +++






+++ โครงการลดการอดอยากในพื้นที่แล้งไร้น้ำและติดทะเล +++
การปรับปรุงดินเค็ม
โดยแฉพาะอย่างยิ่ง ในดินที่มีความเค็มในระดับเค็มจัดนั้น
จะต้องมี การลงทุนเพื่อดำเนินการสูงมาก วิธีการหนึ่ง
ที่นับว่าได้ผล ประหยัด คุ้มค่า และเกษตรกร สามารถจัดการด้วยตัวเองได้ในพื้นที่ดินเค็ม
ก็คือ วิธีการคัดเลือกพืชทนเค็มบางชนิด ที่เหมาะสม สำหรับปลูกในพื้นที่ดินเค็มที่มีระดับ
ความเค็มต่าง ๆ กัน ดินที่มีระดับความเค็ม ไม่มากจนเกินไปนัก
ก็สามารถปลูกพืชบาง ชนิดได้ ดังได้แสดงไว้ในตารางการปลูกพืช
ทนเค็ม

 










1.การนำ ไฟฟ้า (มิลลิโมห์/ ซม. หรือ
เดซิซีเมน/ เมตร)

2-4

4-8

8-16

>16
2.เปอร์เซ็นต์ เกลือ
(โดย ประมาณ)

0.12-0.2

0.2-0.4

0.4-0.8

>0.8
3.ชั้นคุณภาพ ของดิน
เค็มน้อย

เค็มปานกลาง

เค็มมาก

เค็มจัด
4.อาการ ของพืช
บางชนิดแสดง อาการ

พืชทั่วไปแสดง อาการ

พืชทนเค็ม บางชนิดเจริญ
เติบโต และให้ ผลผลิต

พืชชอบเกลือ เท่านั้นที่เจริญ
เติบโตให้ผล ผลิตได้



พืชสวน

หมายเหตุ
ช่องที่ลงพืช ตรงกับค่าของ
ความเค็มข้าง บนแสดงว่า พืชนั้น สามารถ เจริญเติบโต
ได้ในช่วง ความเค็มนั้น และให้ผลผลิต ลดลงไม่เกิน
50%

ถั่วฝักยาว ผักกาด ขึ้นฉ่าย พริกไทย
แตงร้าน แตงไทย

บวบ กะหล่ำดอก พริกยักษ์ กะหล่ำปลี
ถั่วลันเตา มันฝรั่ง น้ำเต้า  กระเทียม หอมใหญ่
หอมแดง ข้าวโพดหวาน แตงโม ผักกาดหอม องุ่น สับปะรด
ผักชี

ผักโขม ผักกาดหัว มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม
แคนตาลูป

หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า กระเพรา  
ผักบุ้งจีน ชะอม  





ไม้ดอก

เค็มน้อย

เค็มปานกลาง

เค็มมาก
 
เยอบีร่า

บานบุรี บานไม่รู้โรย กุหลาบ
ชบา เฟื่องฟ้า

คุณนายตื่นสาย

เข็ม
เขียวหมื่นปี แพรเซี่ยงไฮ้ เล็บมือนาง




พืชไร่และพืชอาหารสัตว์

ถั่วเขียว
ถั่วลิสง

ถั่วแขก

ถั่วปากอ้า

งา

ข้าว

ป่าน

โสนพื้นเมือง

ทานตะวัน

ปอแก้ว

ข้าวโพด

หม่อน

ข้าวฟ่าง

หญ้าเจ้าชู้

มันสำปะหลัง

ถั่วพุ่ม

ถั่วพร้า

ถั่วอัญชัญ

โสนอินเดีย
โสนคางคก
ข้าวทนเค็ม

คำฝอย
โสนอัฟริกัน
มันเทศ
หญ้าขน
หญ้ากินนี

ผักโขม ผักกาดหัว มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม
แคนตาลูป

ฝ้าย

หญ้าแพรก
หญ้าไฮบริเนเบียร์
หญ้าชันอากาศ
หญ้าแห้วหมู
ป่านศรนารายณ์
หญ้าดิ๊กซี่
หญ้าคัลลา





ไม้ผลและไม้โตเร็ว

เค็มน้อย

เค็มปานกลาง

เค็มมาก

อาโวกาโด

กล้วย

ลิ้นจี่

มะนาว

ส้ม

มะม่วง

ทับทิม

ปาล์มน้ำมัน

ชมพู่

มะกอก

แค

มะเดื่อ

กระถินณรงค์

ขี้เหล็ก

ฝรั่ง

ยูลาลิปตัส

มะม่วงหิมพานต์

มะยม

สมอ

ละมุด

พุทรา

มะขาม

มะพร้าว

อินทผลัม

สน

สะเดา

มะเขือเทศ









     ที่มา

          1.
ผลงานวิจัยค้นคว้าทดลองโครงการพัฒนาดินเค็ม ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ กองอนุรักษ์ดินและน้ำ

          2.
ผลงานปลูกทดสอบหาพืชเศรษฐกิจทนเค็มของสถานีพัฒนา ที่ดินฉะเชิงเทรา
และสถานีพัฒนาที่ดินสมุทรสาคร





ความหมายของพืชทนเค็ม



      หมายถึงพืชที่สามารถขึ้นอยู่รอดเจริญ
เติบโตได้ในพื้นที่ดินเค็ม และให้ผลผลิตได้ อย่างครบวงจร
ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีความ สามารถในการทนเค็มได้แตกต่างกัน
หรือแม้แต่พืชชนิดเดียวกัน แต่ต่างพันธุ์กัน ก็มีความทนต่อความเค็มไม่เท่ากัน


 





การคัดเลือกพันธุ์พืชบางชนิดที่จะนำมาปลูก
ในพื้นที่ดินเค็ม



      จะต้องพิจารณาระดับความเค็มของดิน
ก่อนว่าอยู่ในความเค็มระดับใด


 


      ดินเค็มน้อย

      หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือในดินประมาณ 0.12-0.25 เปอร์เซ็นต์ วัดด้วยเครื่องมีอวัดความเค็มได้ 2-4 เดซิซีเมนต่อเมตร พืชที่ไม่ทนเค็ม จะเริ่มแสดงอาการ เช่น การเจริญเติบโตลดลง ใบสีเข้มขึ้น ใบหนาขึ้น ปลายใบไหม้ ปลายใบม้วนงอ ผลผลิตลดลง แต่พืชทนเค็มบางชนิดสามารถ ขึ้นได้ตามปกติ เช่น ขึ้นฉ่าย ผักกาด แตงร้าน มะม่วง ส้ม กล้วย ฯลฯ (โปรด ดูตารางพืชทนเค็มประกอบคำบรรยาย)

      ดินเค็มปานกลาง

      หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือในดินประมาณ 0.25-0.50 เปอร์เซ็นต์ วัดด้วยเครื่องมีอวัดความเค็มได้ 4-8 เดซิซีเมนต่อเมตร พืชสามัญธรรมดา โดยทั่วไป จะแสดงอาการบ้างเล็กน้อย เนื่องจากความเค็มในดิน ดังนั้นก่อน มีการปลูกพืชจึงต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินเสียก่อนด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด แต่ก็มีพืชบางชนิดที่สามารถทนต่อสภาพดินที่มีความเค็ม ปานกลางนี้ได้ เช่น ข้าว ข้าวโพด หอมใหญ่ ผักกาดหอม แตงโม สับปะรด ผักชี มะกอก แค ฯลฯ

       ดินเค็มจัด

       หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือในดิน ประมาณ 0.5-1.0 เปอร์เซ็นต์ วัดด้วยเครื่องมือ วัดความเค็มได้ 8-16 เดซิซีเมนต่อเมตร มีพืชบางชนิดเท่านั้นทีสามารถเจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้
 


      พืชที่สามารถทนต่อสภาพดินที่มีความเค็ม 0.5-0.75 % หรือ 8-12 เดซิซีเมนต่อเมตร ได้แก่ ผักกาดหอม มะเขือเทศ ข้าวพันธุ์ที่ทนเค็ม มันเทศ ขี้เหล็ก มะม่วงหิมพานต์ พืชที่ทนต่อสภาพดินที่มีความเค็ม 0.75-1.0 เปอร์เซ็นต์ หรือ 12-16 เดซิซีเมนต่อเมตร ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า ผักบุ้งจีน ชะอม ฝ้าย ละมุด พุทรา มะขาม สะเดา สนและพืชที่ขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีสภาพ ความเค็มมากกว่า 1% หรือ มากกว่า 16 เดซิซีเมนต่อเมตร ได้แก่ ชะคราม สะเม็ด แสม โกงกาง

วิธีการปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็ม



      การเตรียมแปลงปลูกพืช
จะต้องจัดทำวิธีการปลูกพืชที่ถูกต้องและ เหมาะสม เพื่อให้พืชที่ปลูกได้รับผลกระทบจากความเค็มของเกลือ
ที่มีอยู่ในดินให้น้อยที่สุด ดังตัวอย่างในรูป

บริเวณที่มีเกลือมาสะสมไม่สมควรที่จะทำการปลูกพืช



      การเตรียมแปลงปลูกพืชโดยปกติจะยกร่องแล้วปลูกตรงกลางร่อง
โดยวิธีการนี้เกลือจะเคลื่อนไปสะสมในบริเวณกลางร่องพอดี
เนื่องจาก เป็นที่สูงและมีการระเหยน้ำสูงสุด ทำให้เมล็ดพืชหรือต้นพืชได้รับผล
กระทบจากความเค็ม แต่ในบริเวณริมร่องทั้ง 2 ข้างจะมีความเค็มที่
น้อยกว่า ดังนั้นบริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่สมควรจะปลูกพืช
โดยอาศัยหลักการนี้จึง เป็นบริเวณที่สมควรจะปลูกพืช
โดยอาศัยหลักการนี้ สามารถดัดแปลงร่าง ของแปลงให้เป็นแบบต่าง
ๆ โดยให้มีส่วนสูงไว้คอยดึงดูดชื้นเพื่อให้เป็นการ สะสมเกลือไว้ในบริเวณนี้แล้วจึงปลูกพืชในบริเวณที่ต่ำกว่า

BY: NO-BD + http://mordin.ldd.go.th/nana/web-ldd/soil/Page09.htm